

วันที่ 4 – 6 มีนาคม 2567 นางสาวจุฬาภรณ์ นกสกุล ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการวินิจฉัยศัตรูพืช (หัวหน้าโครงการวิจัย) พร้อมคณะผู้วิจัย จากกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา และศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา ติดตามการดำเนินงานโครงการ โดยวันที่ 4 มีนาคม 2567 ลงพื้นที่อำเภอรามัน พบปะเกษตรกรแปลงต้นแบบในโครงการ ซึ่งเป็นแปลงที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมเมื่อเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา จากการลงพื้นที่พบว่าเกษตรกรมีความใส่ใจในการฟื้นฟูและดูแลกล้วยหินตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี กล้วยหินบางส่วนสามารถฟื้นตัว แทงหน่อขึ้นใหม่อายุประมาณ 2 เดือน จากนั้นร่วมกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวกล้วยหิน ครั้งที่ 3 ในวันที่ 5 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองยะลา เกษตรกรเป้าหมายจากอำเภอเมืองยะลา กรงปินัง กาบัง ยะหา และรามัน จำนวน 240 ราย และวันที่ 6 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอบันนังสตา เกษตรกรเป้าหมายจากอำเภอบันนังสตา ธารโต และเบตง จำนวน 160 ราย



